ข้อมูลของบลูคาร์บอน

ทำไมถึงต้องเป็น บลูคาร์บอน?

เพราะระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่งมีความสำคัญอย่างมากในการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก

พื้นที่บลูคาร์บอนประกอบไปด้วยป่าชายเลน ที่ราบน้ำท่วมถึง และแหล่งหญ้าทะเล ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ล้วนมีศักยภาพในการจับคาร์บอนในอากาศ อย่างเช่นพื้นที่ป่าชายเลนนั้นสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดีกว่าพื้นที่ป่าปกติถึง 4 เท่าเลยทีเดียว

การที่พื้นที่ป่าชายเลน แหล่งหญ้าทะเล และป่าพรุน้ำเค็มดูดซับคาร์บอนได้ดีกว่า เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้สามารถดึงคาร์บอนลงไปกักเก็บไว้ในใต้ดินได้ถึง 50 – 99 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ระบบนิเวศตามแนวชายฝั่งทะเล เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำที่สำคัญ เป็นเกราะป้องกันห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ เป็นที่หลบภัยของสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ช่วยลดความรุนแรงของคลื่น ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มพื้นดิน ตามแนวชายฝั่งให้อีกด้วย

ประเทศไทยกับ

บลูคาร์บอน

ภายใต้ข้อตกลงปารีสปี 2016 ประเทศไทยได้ตั้งเป้าที่จะรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มเกิน 2 องศาเซลเซียส และถ้าโลกสามารถชะลอการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกได้ ระบบนิเวศก็จะมีโอกาสฟื้นตัวได้ดีขึ้น

และในอีก 15 ปีข้างหน้า ประเทศไทยตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ถึง 20 – 25 เปอร์เซ็นต์ แต่การจะลดก๊าซเรือนกระจกได้นั้นจะต้องใช้พื้นที่ป่าตามที่กรมป่าไม้ และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้คำนวณไว้ถึง 163,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 32 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศทั้งหมด ซึ่งปัจจุบันเรามีพื้นที่ป่าไม่ถึง

บลูคาร์บอน เป็นสายใยของเรา

อย่างที่เราทราบกันดีว่าพื้นที่ป่าบนบกทั่วไปทำหน้าที่ดูดซับ และกักเก็บคาร์บอนได้เช่นเดียวกัน เลยทำให้ระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่งกลับถูกมองข้าม ทั้งที่มีความสำคัญต่อการควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก

ข้อมูลของสหภาพยุโรปพบว่าในแต่ละปีพืชในทะเลสามารถกักเก็บคาร์บอนในมหาสมุทรได้ถึงครึ่งนึง ได้ผลเป็นที่สอดคล้องกับรายงานของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติที่ให้ความสำคัญกับระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่ง

อย่างไรก็ตาม จากรายงานของสหภาพยุโรปยังพบว่าระบบนิเวศทางทะเล และชายฝั่งทั่วโลกได้ลดจำนวนอย่างรวดเร็วในช่วง 50 ปีหลัง ส่งผลให้ความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนในแต่ละปีลดลงตามไปด้วยถึง 2 - 7 เปอร์เซ็นต์

ถ้าเราสามารถที่จะยับยั้งแนวโน้มดังกล่าวได้ บลูคาร์บอนก็จะช่วยให้สถานการณ์ของก๊าซเรือนกระจก และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลกเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ระบบนิเวศของบลูคาร์บอน

ป่าชายเลน

ป่าชายเลนเป็นป่าที่อยู่ในเขตน้ำขึ้น และลงบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ หรืออ่าว สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพน้ำเค็มได้ นับว่าเป็นป่าที่มีความสำคัญต่อระบบชีวภาพ และอุดมไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์

ทั่วโลกมีเนื้อที่ป่าชายเลนอยู่ทั้งหมดราวๆ 152,000 ตารางกิโลเมตร โดยเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นพื้นที่ 1 ใน 3 ของโลกที่มีป่าชายเลนเยอะสุด

ในส่วนประเทศไทยจากข้อมูลของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 2,500 ตารางกิโลเมตร โดยในปีที่ผ่านมาจำนวนพื้นที่ป่าชายเลนในประเทศมีการเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่อาจจะไม่เพียงพอกับการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

ป่าชายเลนนั้นเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืช และสัตว์นานาชนิด และยังเป็นที่สะสมของคาร์บอนที่หนาแน่นที่สุด ซึ่งในแต่ละเฮกตาร์จะสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ราวๆ 8 ตันต่อปี เร็วกว่าพื้นที่ป่าเขตร้อนทั่วไปประมาณ 2 – 4 เท่า

อย่างไรก็ตาม ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ป่าชายเลนกลับถูกทำลายไปราวๆ 30 – 50 เปอร์เซ็นต์ และยังมีทีท่าจะลดลง 2 เปอร์เซ็นต์ต่อเนื่องในทุกๆ ปี ซึ่งการลดลงของป่าชายเลนนี้ยังส่งผลให้ปริมาณคาร์บอนเพิ่มขึ้นได้ถึง 10% จากปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่เกิดจากการการตัดไม้ทำลายป่ารวมกันทั้งโลก

ที่ราบน้ำขึ้นถึง

ที่ราบน้ำขึ้นถึง หรือที่เรียกกันว่า ป่าพรุน้ำเค็ม หรือพื้นที่ชุ่มน้ำตามแนวฝั่ง พบได้ตามแนวรอยต่อระหว่างพื้นดินกับพื้นน้ำ และเป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำขึ้น และน้ำลงท่วมอยู่เป็นประจำ

พื้นที่ราบน้ำขึ้นถึงนี้จะกักเก็บคาร์บอนไว้ในชั้นดินหลายสิบเมตร โดยในแต่ละเฮกตาร์จะสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 6 – 8 ตันต่อปี หรือดีกว่า 2 - 4 เท่าของพื้นที่ป่าเขตร้อนทั่วไป

ที่ราบน้ำขึ้นถึงยังทำหน้าที่เหมือนโรงงานบำบัดน้ำเสีย ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อชีวิตสัตว์ทะเลที่เป็นปัจจัยหลักของระบบนิเวศ และห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ นอกจากนี้ยังช่วยลดการกัดเซาะของดิน รวมทั้งป้องกันพายุ และน้ำท่วมให้กับเรา

แต่ที่น่าเสียดายพื้นที่ดังกล่าวกลับลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่องประมาณปีละ 1 - 2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งผลมาจากการปล่อยน้ำเสีย การถางพื้นที่เพื่อทำการเกษตร รวมทั้งการหนุนสูงของระดับน้ำทะเล

แหล่งหญ้าทะเล

แหล่งหญ้าทะเล คือ ระบบนิเวศที่ดูดซับคาร์บอนได้ดีที่สุด มีพื้นที่น้อยกว่า 0.2 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด แต่กลับกักเก็บคาร์บอนไว้ได้ถึงปีละ 10 เปอร์เซ็นต์

แหล่งหญ้าทะเลยังช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของพะยูน และเต่าตนุ รวมทั้งเป็นแหล่งอนุบาล และที่หลบภัยของสัตว์น้ำอีกหลายชนิด

แต่แหล่งหญ้าทะเลกลับเป็นระบบนิเวศที่ถูกคุกคามมากที่สุดของโลก ซึ่งในแต่ละปีพื้นที่หญ้าทะเลจะลดลงถึง 1.5 เปอร์เซ็นต์ และนอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา แหล่งหญ้าทะเลทั่วโลกได้ตายลงไปแล้วกว่า 29 เปอร์เซ็นต์

In Thailand, according to the Department of Marine and Coastal Resources’ latest survey, seagrass areas totaled about 256km2 in 2015, up from 190km2 in 2012, thanks partly to further exploration and better survey equipment.ขณะที่ประเทศไทย จากการสำรวจครั้งล่าสุดของกรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งพบว่าเมื่อปี 2015 ประเทศไทยมีพื้นที่หญ้าทะเล 256 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นจากปี 2012 ที่ตอนนั้นมีพื้นที่เพียง 190 ตารางกิโลเมตร ซึ่งต้องขอบคุณอุปกรณ์การสำรวจที่ดีขึ้น ที่ทำให้การสำรวจสามารถขยายพื้นที่ออกไปได้ดีกว่าเดิม

แหล่งหญ้าทะเลบางแห่งมีสภาพดีขึ้น แต่บางแห่งก็ยังคงถูกคุกคามจากน้ำมือของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเขื่อน ท่าเรือ รีสอร์ท การพัฒนาพื้นที่ตามแนวชายฝั่ง รวมทั้งการทำประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำก็ล้วนมีส่วนที่ทำให้แหล่งหญ้าทะเลเสื่อมโทรมลง

บลูคาร์บอน

กับเป้าหมาย 17 ข้อของการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ

บลูคาร์บอนโซไซตี้มีทิศทางที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติทั้ง 17 ข้อ ซึ่งผู้นำระดับโลกได้นำเป้าหมายนี้มาใช้ในการประชุมสุดยอดของสหประชาชาติเมื่อเดือนกันยายน 2015

ในเป้าหมายข้อที่ 14 นั้นมีจุดประสงค์เพื่อฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยของพืช และสัตว์ในทะเล รวมทั้งตามแนวชายฝั่ง โดยบลูคาร์บอนโซไซตี้ได้มีเป้าหมายที่จะพยายามรักษา และขยายพื้นที่ที่ใช้กักเก็บคาร์บอน ตลอดจนบริหารจัดการพื้นที่นั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

Material on this page includes information from Blue Carbon Initiative.

Copyright © 2018 Blue Carbon Society | Together for our planet
ผลลัพธ์
การยืนยัน