ทะเลอันดามันมรดกโลก ความหวังเพื่อชีวิตใต้ทะเล

ครั้งนี้มีลุ้น เมื่อการยกระดับทะเลฝั่งอันดามันให้เป็นมรดกโลกใกล้เป็นจริง

เป็นที่รู้กันดีว่าพื้นที่ทางทะเลฝั่งอันดามันของไทย มีความสวยงามและเป็นระบบนิเวศทางทะเลที่มีความหลากหลายทางชีวภาพแห่งหนึ่งในโลก ทำให้มีการผลักดันนำเสนอการอนุรักษ์ทะเลอันดามันต่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ที่จะมีการประชุมณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 44 จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 16-31 ก.ค. ผ่านออนไลน์

ทะเลอันดามันมีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติมาก ทั้งพื้นที่ป่าชายเลนไบโอสเฟียร์ จ.ระนอง อันเป็นป่าชายเลนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และมีความสำคัญในแง่การเก็บกักคาร์บอน และเป็นแหล่งหญ้าทะเล อีกทั้งแนวปะการังโบราณที่ใหญ่ที่สุดของอันดามัน บริเวณอุทยานแห่งงชาติหมู่เกาะสุรินทร์อันเกิดขึ้นมาแล้วกว่า 8,000 ปี และแถบอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันก็ยังอยู่ในบริเวณที่เรียกว่าไหล่ทวีป มีจุดน้ำตื้นและจุดทะเลลึก เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลมากมายที่บางครั้งจะพบสัตว์ทะเลแปลกๆ จากมหาสมุทรอินเดียเข้ามาหากินบริเวณนี้ และบริเวณที่เป็นชายหาด ในปัจจุบันมีแนวโน้มการพบเห็นเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่เป็นประจำ อาทิ หาดท้ายเหมือง หาดไม้ขาว ตั้งอยู่ในพื้นที่ จ.ภูเก็ต

ซึ่งล่าสุดคณะทำงานสัตว์ทะเลหายากฯ ภายใต้คณะกรรมการทะเลแห่งชาติ ได้ยื่นเสนอให้พื้นที่เขตอันดามันเหนือ 5,500 ตร.กม. เป็นพื้นที่คุ้มครองสัตว์ทะเลหายากที่ใหญ่ที่สุดของไทย เพราะมีรายงานสัตว์หายากหลายชนิด เช่น วาฬสีน้ำเงิน สัตว์ใหญ่สุดในโลก ออร์ก้า ฯลฯ แม้จะอยู่ในเขตอุทยานแต่ก็ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ในน่านน้ำอย่างเพียงพอ ทำให้ทุกสถานที่ที่กล่าวมานี้ ล้วนมีความสำคัญที่จะผลักดันให้ทะเลฝั่งอันดามันของไทย เป็นมรดกโลกได้ ที่จะเอื้อประโยชน์ในการคุ้มครอง ดูแล และอนุรักษ์พื้นที่เหล่านี้ รวมถึงสัตว์ทะเลอีกมากมายหลากหลายชนิดให้ได้รับการคุ้มครองมากขึ้น มีการตรวจสอบและมีระบบการจัดการที่ดีขึ้น ทำให้เกิดการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับธรรมชาติอย่างยั่งยืนในที่สุด

อ้างอิงข้อมูลจาก: https://mgronline.com/daily/detail/9640000051586

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไปกับเรา Blue Carbon Society

Relate Articles

ดูทั้งหมด
Copyright © 2018 Blue Carbon Society | Together for our planet
ผลลัพธ์
การยืนยัน