แบนไปกว่า 40 ปี แต่สาร PCBs เคมีร้ายยังผลต่อการสืบพันธุ์วาฬและโลมา

Polychlorinated Biphenyls สารเคมีที่ทั่วโลกประกาศหยุดใช้ตั้งแต่ปี 1979 เพราะพบว่ามีเป็นพิษสูง และเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ และอาจเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ด้วย

นักวิจัย UK พบว่า สาร PCBs นี้ยังมีเจือปนในน้ำทะเล สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างโลมา และวาฬที่ได้รับสาร PCBs สะสมในร่างกาย สัตว์เหล่านี้จะมีลูกอัณฑะที่เล็กลง ส่งผลให้มีสเปิร์มน้อย ลดอัตราการเกิดใหม่ของโลมาและวาฬอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งนักวิจัยได้ศึกษาจากวาฬเพชฌฆาต 1 ตัว มีสารนี้ตกค้างสูงถึง 1,300 มิลลิกรัม ในขณะที่จำนวนเพียงแค่ 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ก็ส่งผลถึงระบบสืบพันธุ์ และระบบภูมิคุ้มกันแล้ว จึงมีการคำนวณว่าประชากรวาฬอาจลดลงอย่างรวดเร็วถึง 10 ตัวจาก 19 ตัวเลยทีเดียว สารนี้เคยใช้ในการผลิตพลาสติก สี ไปจนถึงอุปกรณ์ไฟฟ้า บ้างมีการอ้างว่าพบในขวดน้ำดื่ม แต่แท้จริงแล้วสารนี้เกิดจากการเผาไหม้ที่อุณหภูมิประมาณ 200-300 องศาเซลเซียสเท่านั้น ไม่สูงหรือต่ำไปกว่านั้น ซึ่งจะไม่สามารถปนเปื้อนในน้ำดื่มได้อย่างแน่นอน

แม้จะถูกแบนไม่ใช้สารตัวนี้ไปแล้วในหลายๆ ประเทศ แต่ที่จริงแล้วมันยังถูกใช้ในบางส่วนของโลกโดยที่เราไม่รู้ และยังใช้เวลานานในการย่อยสลายด้วย ผลกระทบเหล่านี้ทำให้เราต้องกลับมาทบทวนการใช้ หรือลดการใช้สารเคมีต่างๆเพราะสิ่งนี้จะส่งผลทำลายระบบนิเวศในระยะยาว แม้หากใช้วิธีฝังกลบ มันก็ยังไหลซึมลงดิน ออกสู่แหล่งน้ำ และลงทะเลได้เช่นกัน หากเราสามารถหลีกเลี่ยง และไม่ก่อมลพิษใดๆ เพิ่มขึ้น ก็จะเป็นอีกทางที่ช่วยโลกลดปริมาณสารพิษที่เกิดขึ้นได้อีกทางหนึ่ง

อ้างอิงข้อมูลจาก: https://edition.cnn.com/.../orca-killer.../index.html... และ www.thaihealth.or.th
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไปกับเรา Blue Carbon Society

Relate Articles

ดูทั้งหมด
Copyright © 2018 Blue Carbon Society | Together for our planet
ผลลัพธ์
การยืนยัน